Tokyo

10/24/2557

Tokaido-Sanyo Shinkansen Tourist Pass

he Tokaido-Sanyo Shinkansen Tourist Pass is a rail pass for exclusive use by foreign tourists available from October 2014 through June 2015. It provides pass holders with five consecutive days of unlimited travel along the popular Tokaido and Sanyo Shinkansen (including Nozomi trains), free use of designated local transportation and free admission to selected sightseeing spots.

Validity
The map below shows the train, bus, tram and ropeway lines and selected sightseeing spots covered by the Tokaido-Sanyo Shinkansen Tourist Pass:

1)Unlimited use of the Tokaido Shinkansen and Sanyo Shinkansen, including Nozomi and Mizuho trains.
2)Unlimited use of local and rapid JR trains in the city of Osaka, including the Osaka Loop Line.
3)Unlimited use of the following additional modes of transportation:
4)Free admission to the sightseeing spots shown on the map above and the following additional sights:
  • Kakegawa Kachoen (15 minutes on foot from Kakegawa Station)
  • Hamamatsu Castle (10 minutes by bus from Hamamatsu Station, bus not covered)
  • Umekoji Steam Locomotive Museum (15 minutes on foot from Kyoto Station)
  • Osaka Aqua Bus (1 minute on foot from Osakajokoen Station)
  • Tennoji Zoo (5 minutes on foot from Tennoji Station)
5)Pass holders can make up to four seat reservations on the Tokaido-Sanyo Shinkansen for free.
6)The pass is valid on five consecutive days. The validity of the passes is based on calendar days (midnight to midnight) as opposed to 24-hour periods.
7)Only foreign visitors to Japan (on a temporary visitor visa) can use the pass. It cannot be used by residents of Japan.
8)The pass can only be used by a single person. It cannot be transferred between multiple persons. The pass holder has to carry his/her passport at all times.
9)The pass is available for use from October 1, 2014 to June 30, 2015.
Points of Sale
The Tokaido-Sanyo Shinkansen Tourist Pass has to be purchased outside of Japan. When purchasing a rail pass, you will receive a voucher that has to be exchanged to the actual pass at designated stations inside Japan and within three months of purchase. At the time of exchange, you will specify a starting date for the pass which should be within one month of the current date.
See the official pdf file for a list of travel agencies that sell the pass and exchange locations.
Assessment
The Tokaido-Sanyo Shinkansen Tourist Pass is inferior in value to the Japan Rail Pass in almost all aspects (including cost, duration and coverage area) except for two points: 1) unlike the Japan Rail Pass, it is valid onNozomi and Mizuho trains and 2) the pass provides free admission to a few selected sightseeing spots (adding up in value to a few thousand yen) and free use of selected local buses, trams and a ropeway. Among them, the bus between Shin-Fuji Station and the Fuji Five Lakes can be of particular value.
So, unless you really want to use the Nozomi or your itinerary well matches the sightseeing privileges offered by the Tokaido-Sanyo Shinkansen Tourist Pass, there is little reason to select it over the Japan Rail Pass.

Any Questions? Ask them in our question forum.

ศักราชใหม่ของญี่ปุ่น “ในฐานะศูนย์กลางของการศึกษาของโลก” ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

นับตั้งแต่สมัยการปฏิรูปเมจิในปลายศตวรรษที่ 19 ญี่ปุ่น ก็ได้รับเอาระบบการศึกษาและวิชาการจากตะวันตกมาใช้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นประเทศแรกของเอเชีย

ju3

หลายคนสงสัยว่า ทำไมญี่ปุ่นถึงไม่พัฒนาระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงอยู่แล้ว ให้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาโลก เช่นเดียวกับ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือ ออสเตรเลีย โดยหนึ่งในคำตอบก็คือ อุปสรรคด้านภาษานั่นเอง

ที่ผ่านมารัฐบาลก็พยายามส่งเสริมให้ประชาชนหันมาพูดภาษาอังกฤษมากขึ้น ขณะเดียวกันประชาชนจำนวนมากยังคงเป็นพวกชาตินิยมปฏิเสธการเรียนภาษาอังกฤษอยู่

ju1

ญี่ปุ่นได้เดินหน้าเดินหน้าพัฒนาการศึกษาภายในประเทศให้เป็นนานาชาติมากขึ้น เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการของญี่ปุ่ ได้เริ่มให้บางหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการทดลองทักทายกันเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของข้าราชการ

ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่นบางแห่ง ก็ได้มีการกำหนดให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีเรียนเป็นภาษาอังกฤษในทุกวิชา หรือในบางแห่งก็ได้เปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษในหลากหลายสาขา

ju2

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังได้ออกโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างชาติทั่วโลกอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านการวิจัย หรือทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติ จะเห็นได้ว่า ศักราชใหม่ของญี่ปุ่น ในฐานะศูนย์กลางของการศึกษาของโลกได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

“ชาวญี่ปุ่นและชาวเอเชียรุ่นใหม่ จะถูกหลอมรวมกันด้วยมิตรภาพ ความฝันเดียวกัน เพื่ออนาคตเดียวกัน” Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าว
ข้อมูลจาก: voicetv

“ทุนการศึกษาจากรัฐบาลญี่ปุ่น”

สวัสดีครับเพื่อนๆ ในบทความนี้เราจะไปทำความรู้จัก ทุนการศึกษาจากรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งถ้าใครที่กำลังอยากจะหาทุนเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นอยู่ละก็ ควรจะทำความเข้าใจไว้นะครับ

สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย มีการมอบทุนการศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่นให้แก่ผู้ที่ต้องการเรียนต่อที่ญี่ปุ่นในระดับอุดมศึกษา และในสถานศึกษาระดับสูงของญี่ปุ่น ซึ่งจะปีอยู่เป็นประจำทุกปี แบ่งออกเป็น 7 ประเภท ดังนี้

jsc3

1.ทุนระดับนักศึกษาปริญญาตรี
ทุนศึกษาศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 21 ปี สำเร็จหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และจบการศึกษาในเดือนมีนาคม ของปีที่เริ่มรับทุนการศึกษา ระยะเวลารับทุนการศึกษา 5 ปี และ 7 ปี
สำหรับสาขาแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ (รวมระยะเวลาศึกษาภาษาญี่ปุ่น 1 ปี) รับสมัครประมาณต้นเดือนมิถุนายนของทุกปี และเริ่มรับทุนตั้งแต่เดือนเมษายน ของปีถัดไป

2. ทุนระดับนักศึกษาวิจัย
ทุนในระดับนักศึกษาวิจัย ที่มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 35 ปี สำเร็จหรือกำลังจะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ในปีที่เริ่มรับทุนการศึกษา ระยะเวลารับทุนการศึกษา 2 ปี หรือ 1 ปี 6 เดือน (รวมเรียนภาษาญี่ปุ่น 6 เดือน) รับสมัครประมาณต้นเดือนมิถุนายนของทุกปี และเริ่มรับทุนตั้งแต่เดือนเมษายน หรือ ตุลาคม ของปีถัดไป

jsc2

3. ทุนญี่ปุ่นศึกษา
ทุนเพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ภาษาญี่ปุ่น ศึกษาวัฒนธรรมและสภาพสังคมญี่ปุ่น โดยผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 29 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 หรือ 3 และศึกษาภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรี ระยะเวลารับทุนการศึกษา 1 ปีการศึกษา รับสมัครต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ปีละประมาณ 6 ทุน และเริ่มรับทุนตั้งแต่เดือนตุลาคมของปีเดียวกัน

4.ทุนนักศึกษาอบรมวิชาชีพครู
ด้วยความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการไทย คัดเลือกครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเพื่อไปฝึกอบรมด้านการศึกษาที่มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น โดยผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 35 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในวิชาชีพมาไม่น้อยกว่า 5 ปี และสอนในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา หรือสอนในสถาบันพัฒนาอาชีพครู
ระยะเวลารับทุนการศึกษา 1 ปี 6 เดือน (รวมระยะเวลาศึกษาภาษาญี่ปุ่น 6 เดือน) รับสมัครปลายเดือนมกราคมของทุกปี ปีละประมาณ 6 ทุน เริ่มรับทุนตั้งแต่เดือนตุลาคมของปีเดียวกัน

jsc4

5.ทุนนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ด้วยความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการไทย คัดเลือกนักเรียนไทยเพื่อไปศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีที่ญี่ปุ่นเป็นประจำทุกปี ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 21 ปี เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และจะจบการศึกษาในเดือนมีนาคมของปีที่เริ่มรับทุนการศึกษา ระยะเวลารับทุนการศึกษา 4 ปี (รวมระยะเวลาศึกษาภาษาญี่ปุ่น 1 ปี) รับสมัครต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ปีละประมาณ 3 ทุน เริ่มรับทุนตั้งแต่เดือนเมษายน ของปีถัดไป

6.ทุนนักศึกษาฝึกอบรมวิชาชีพ
ด้วยความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการไทย คัดเลือกนักเรียนไทยเพื่อไปศึกษาในสถาบันอาชีวะศึกษาที่ญี่ปุ่นเป็นประจำทุกปี ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 21 ปี เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และจะจบการศึกษาในเดือนมีนาคมของปีที่เริ่มรับทุนการศึกษา ระยะเวลารับทุนการศึกษา 3 ปี (รวมระยะเวลาศึกษาภาษาญี่ปุ่น 1 ปี) รับสมัครต้นเดือนกรกฎาคมของทุกปี ปีละประมาณ 1-2 ทุน เริ่มรับทุนตั้งแต่เดือนเมษายน ของปีถัดไป

jsc1

7.ทุนนักศึกษาประเภท Young Leaders Program (YLP)
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย คัดเลือกข้าราชการสามัญ หรือผู้ทำงานในสังกัดหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชานั้น และเป็นผู้ซึ่งจะมีบทบาทในการเป็นผู้นำในการพัฒนาประเทศไทย ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาอังกฤษ ที่สถาบันและมหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น
ระยะเวลารับทุนการศึกษา 1 ปี ทุนแบ่งออกเป็น 5 สาขาวิชาคือ 1. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 2. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ 3. สาขาวิชานิติศาสตร์ 4. สาขาวิชาการบริหารทางแพทยศาสตร์ 5. สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น
ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 40 ปี (ไม่เกิน 35 ปีสำหรับสาขาวิชาบริหารธุรกิจ) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงานในองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐบาลมามากกว่า 3-5 ปี (คุณสมบัติแตกต่างไปตามสาขาที่สมัคร) ทั้งนี้ผู้สมัครต้องได้รับการเสนอชื่อจากหน่วยงานรัฐ หรือองค์กรที่สังกัดเท่านั้น ทุนเริ่มรับสมัครประมาณเดือนกันยายนของทุกปี และเริ่มรับทุนตั้งแต่เดือนตุลาคมของปีถัดไป
ข้อมูลจาก: educatepark

อะไรคือความแตกต่าง ระหว่างระบบการศึกษาของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น

บทความนี้เป็นบทความที่นักศึกษาญี่ปุ่นคนหนึ่ง ซึ่งได้ไปเรียนต่อที่ California State Universityและมองเห็นถึงความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาของญี่ปุ่นและอเมริกา

เขาจึงได้เขียนบทความนี้ขึ้นในหัวข้อว่า Difference between the U.S. and Japanese education systems หรือข้อแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาของอเมริกาและญี่ปุ่นนั่นเองครับ

1. การยกมือถาม
ed1
ในอเมริกา นักเรียนสามารถที่จะยกมือถามระหว่างที่ครูสอนได้ และก็เป็นสิ่งที่ครูชอบ เพราะนั่นแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีความสนใจในสิ่งที่กำลังเรียนอยู่ แต่ในญี่ปุ่นกลับตรงข้ามกัน ครูคาดหวังที่จะให้นักเรียนเงียบๆในขณะที่กำลังสอน สิ่งที่นักเรียนต้องทำคือจดโน๊ตแล้วเก็บความสงสัยไว้ถามคุณครูท้ายคาบ ทั้งนี้ในขณะที่สอนอยู่ ครูอาจจะสุ่มนักเรียนถามได้ เพื่อเช็คว่านักเรียนคนนั้นตั้งใจเรียนหรือเปล่า

2. การอภิปรายกลุ่มและการนำเสนองาน
ed2
หลักสูตรการเรียนของอเมริกาจะให้ความสำคัญกับการอภิปรายกลุ่มและการนำเสนองาน ในขณะที่ญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เด็กนักเรียนจะนั่งเรียนอย่างเงียบๆ โดยมีครูสอนอยู่หน้าชั้น อาจจะมีการอภิปรายกลุ่มและการนำเสนองานบ้าง แต่เด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะอายและไม่ค่อยกล้าพูด

3. การเข้าเรียน
ed3
ในญี่ปุ่น นักเรียนในระดับมัธยมปลายจะเรียนหนักมาก เพื่อที่จะได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ต้องการ แต่เมื่อผ่านจุดนั้นจนได้เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว พวกเขาก็จะมีความสุขกับอิสระภาพของการเป็นนักศึกษา นักศึกษาหลายคนจะโดดเรียนบ่อยๆ แล้วให้เพื่อนช่วยเช็คชื่อแทน ในขณะที่ประเทศอเมริกา นักศึกษาไม่สามารถทำอย่างนั้นได้

มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่นจะเน้นการ lecture ซึ่งก็ไม่ได้ต่างจากในโรงเรียนเลย ทำให้นักเรียนรู้สึกเบื่อในการเรียน และนั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมนักศึกษาญี่ปุ่นถึงใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน มากกว่าที่จะตั้งใจเรียน
ที่มา: gaijinpot

แนะนำข้อมูลเมือง Tokyo เมืองหลวงและเมืองแห่งการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น

ในบทความที่แล้วผมได้แนะนำวิธีการเลือกมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว สำหรับบทความนี้ผมมีข้อมูลของเมือง Tokyo มาแบ่งปันให้เพื่อนๆ สำหรับใครที่อยากไปเรียนต่อที่เมืองหลวงแห่งนี้ครับ

tk1

Tokyo 東京都  หรือโตเกียว มีความหมายว่า “นครหลวงตะวันออก” ตั้งอยู่บริเวณภาคคันโตของญี่ปุ่น เป็นเมืองที่มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน เป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วยครับ

โตเกียวถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางการบริหาร การเงิน การศึกษา และวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองที่มีความสำคัญในแง่ของอำนาจและผลักระทบต่อเศรษฐกิจของโลก นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเมืองแห่งการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นอีกด้วยครับ

tk2

สถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียงในโตเกียวมีมากมายครับ ที่เด่นๆก็จะมี University of TokyoTokyo Institute of TechnologyTokyo Metropolitan University และ Tokyo University of Science

โตเกียวเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูงติดอันดับ Top 20 ของโลก และยังเคยเป็นอันดับหนึ่งในอดีตอีกด้วย แต่ถึงอย่างนั้นนักเรียนต่างชาติก็ยังนิยมมาเรียนต่อในโตเกียว เนื่องจากมีโรงเรียนสอนภาษา หรือมหาวิทยาลัยตั้งอยู่อย่างมากมายครับ

tk3

ฤดูของประเทศญี่ปุ่น แบ่งออกได้เป็น 4 ฤดู
ฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคม-พฤษภาคม) อุณหภูมิเฉลี่ย (ในกรุงโตเกียว) 14.4 องศาเซลเซียส
– ฤดูร้อน (มิถุนายน-สิงหาคม) อุณหภูมิเฉลี่ย 25.4 องศาเซลเซียส มีฝนตกชุกช่วงต้นฤดู
– ฤดูใบไม้ร่วง (กันยายน-พฤศจิกายน) อุณหภูมิเฉลี่ย 18.2 องศาเซลเซียส มีพายุไต้ฝุ่นมากในเดือนกันยายน
– ฤดูหนาว (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) อุณหภูมิเฉลี่ย 5.8 องศาเซลเซียส

แนะนำ 6 สุดยอดมหาวิทยาลัยน่าเรียนในญี่ปุ่น รับรองคุณภาพดีไม่ผิดหวัง

นอกจากการเรียนต่อในประเทศทางยุโรป อังกฤษ หรือสหรัฐอเมริกาแล้ว ทวีปเอเชียเราก็มีความรู้ทางด้านวิชาการไม่น้อยหน้าที่ไหนอีกเช่นกัน โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและการเรียนอีกแห่ง
ใครที่กำลังมองหาข้อมูลเรียนต่อประเทศญี่ปุ่น เราก็จะมาแนะนำข้อมูลมหาวิทยาลัยดีๆ 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศญี่ปุ่น ที่น่าไปเรียนต่อมากที่สุด ลองมาดูกันได้เลย…..

The University of Tokyo
6-best-university-japan

อันดับโลก 32
ค่าเล่าเรียน 120,000-240,000 บาท/ปี
มหาวิทยาลัยแห่งโตเกียว หรือที่เรียกกันว่า โทได เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1877 ถือเป็นศูนย์กลางทางความรู้ งานวิจัยคุณภาพ และเป้าหมายอันดับต้นๆของนักเรียนญี่ปุ่นทุกคนเลยล่ะ
6-best-university-japan2

Kyoto University
6-best-university-japan4

อันดับโลก 35
ค่าเล่าเรียน 120,000-180,000 บาท/ปี
เมืองเกียวโต คือเมืองหลวงเก่าของประเทศญี่ปุ่น และก็เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีอายุกว่าร้อยปี ตั้งขึ้นในปี 1897 โดยมีแนวคิดหลักของการเรียนการสอนอยู่ที่วัฒนธรรมที่เปิดกว้าง และอิสระในการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนอย่างเต็มที่
6-best-university-japan3

Osaka University
6-best-university-japan6

อันดับโลก 55
ค่าเล่าเรียน 120,000-240,000 บาท/ปี
Osaka University ก่อตั้งขึ้นในปี 1931 มีแนวคิดมุ่งเน้นให้สถาบันเป็นผู้นำของโลกในด้านการศึกษาขั้นสูง เปิดสอนทั้งหมด 10 คณะในระดับปริญญาตรี รวมไปถึง 14 บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันวิจัย 5 แห่ง และวิทยาลัยนานาชาติอีก 2 แห่งด้วย
6-best-university-japan5

Tokyo Institute of Technology
6-best-university-japan7

อันดับโลก 66
ค่าเล่าเรียน 180,000-240,000 บาท/ปี
ถ้าพูดถึงเรื่องวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีโตเกียวอาจจะเป็นรองที่อื่นๆ แต่ถ้าพูดถึงเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันนี้อยู่ในระดับต้นๆของประเทศอย่างแน่นอน โดยสั่งสมความรู้ด้านการเรียนและการวิจัยมาตั้งแต่ปี 1881 ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสถาบันเก่าแก่ในประเทศญี่ปุ่นเลยทีเดียว
6-best-university-japan8

Tohoku University
6-best-university-japan9

อันดับโลก 75
ค่าเล่าเรียน 60,000-120,000 บาท/ปี
ก่อตั้งขึ้นในปี 1907 ช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทันสมัย มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ให้ความรู้ทั้งด้านการศึกษาและวิจัย ช่วยให้ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็วเป็นผู้นำของเอเชีย นอกจากนี้ยังติดอันดับต้นๆของมหาวิทยาลัยแถบเอเชียแปซิฟิคในสาขาต่างๆเป็นประจำด้วย
6-best-university-japan10

Nagoya University
6-best-university-japan11

อันดับโลก 99
ค่าเล่าเรียน 120,000-240,000 บาท/ปี
เริ่มก่อตั้ง ตั้งแต่ปี 1939 เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยแห่งชาติญี่ปุ่นทั้งเจ็ด โดยปัจจุบันมีนักศึกษาต่างชาติกว่า 1,200 คนกำลังทำการศึกษา ทำให้นักเรียนนอกที่คิดจะไปเรียนต่อไม่ต้องกลัวว่าจะเหงาและไม่มีเพื่อน สถาบันแห่งนี้ยังติดอันดับ 100 ของโลกด้วยเช่นกัน
6-best-university-japan12

ทั้ง 6 มหาวิทยาลัยน่าสนใจในประเทศญี่ปุ่น ที่เรานำมาฝากกันนี้ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสถาบันที่ติด 100 อันดับแรกของโลก (โดย QS World Ranking) ด้วยกันทั้งสิ้น เป็นที่การันตีคุณภาพได้อย่างดีทีเดียว อีกเรื่องก็คือ ค่าเล่าเรียน ที่ถูกกว่าฝั่งยุโรปหรืออเมริกามาก ทำให้ญี่ปุ่นก็ดูเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากเลยล่ะ….
ภาพจากเน็ต

เทคนิคจดโน้ตขั้นเทพ ให้เรียนเก่ง… จากมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น!!

Tokyo University หรือที่เด็กนักเรียนจะเรียกว่า Todai ถือเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน และเป็นเป้าหมายของเหล่านักเรียนทั่วประเทศที่จะสอบแข่งขันกันเข้าเรียน เพราะฉะนั้นคนที่เข้าได้นี่คือระดับหัวกะทิจริงๆ
ในวันนี้เราไม่ได้มาแนะนำมหาวิทยาลัย แต่เรามีเทคนิคดีๆของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งนี้ ว่าเคล็ดลับในการเรียนเก่งอย่างหนึ่งก็คือการจดโน้ตระหว่างเรียนที่ถูกต้อง จะช่วยให้เข้าใจและสอบได้คะแนนดีขึ้น เราลองมาดูกันเลยครับว่าพวกเขามีวิธีจดโน้ตกันยังไง….

TodaisNote_2
1. แยกหัวข้อโน้ตเป็นส่วนๆ
ไม่จำเป็นต้องจดลงไปทั้งหมด แต่เพียงจดหัวข้อสำคัญ และคำอธิบายหัวข้อนั้นๆ จะช่วยให้เราเรียบเรียงความสัมพันธ์ของเนื้อหา และเข้าใจมันได้มากยิ่งขึ้น

TodaisNote_3
2. เว้นที่ว่างไว้บ้าง
การเว้นที่ว่างบนหน้ากระดาษ นอกจากจะช่วยทำให้สบายตาแล้ว ยังสามารถเป็นพื้นที่ให้เราจดเพิ่มเติมลงไปในส่วนที่ยังไม่เคลียร์ จะได้อ่านง่ายและชัดเจนมากกว่าเดิม

TodaisNote_4
3. ไม่ต้องจดเองทั้งหมด (ถ่ายเอกสารด้วยก็ได้)
บางอย่างที่มันเป็นข้อมูลเฉพาะส่วน เช่น ตาราง คำอธิบายยากๆ หรือภาพ เราใช้วิธีพรินท์และถ่ายเอกสารออกมาใส่สมุดโน้ต ควบคู่ไปกับการอธิบายตามความเข้าใจของเรา จะดีกว่าจดเองทั้งหมด

TodaisNote_5
4. ทำสารบัญเอาไว้
หลายคนคงจะไม่รู้ว่ามีเทคนิคนี้ด้วย สมุดโน้ตของเรานั้นก็เหมือนหนังสือเล่มหนึ่ง เพราะฉะนั้นควรทำสารบัญเอาไว้ด้านหน้า เวลาจะหาข้อมูลก็จะสามาถรหาได้ง่ายขึ้น หรือจะหากระดาษโน้ตมาแปะไว้ที่สมุดให้ยื่นออกมา พร้อมกับเขียนหัวข้อลงไปแยกว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องไหนก็ได้เช่นกัน

TodaisNote_6
5. สรุปให้จบในหน้าเดียวกัน
การสรุปหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งแล้วบันทึกลงไปหลายๆหน้านั้น อาจจะทำให้สับสน เพราะฉะนั้นพยายามให้จบในหน้าเดียว ถ้าทำไม่ได้ก็หากระดาษโน้ตมาแปะแล้วเขียนเพิ่ม เวลากางออกมาดูจะได้เห็นชัดๆทีเดียวนั่นเอง

TodaisNote_7
6. จดตามสไตล์ของตัวเอง
การบันทึกความรู้นั้นลอกกันไม่ได้ เพราะแต่ละคนมีวิธีการเรียนรู้และจดจำต่างกัน แต่ละคนจึงต้องจดตามสไตล์ของตัวเอง บางครั้งเวลาไปอ่านโน้ตของเพื่อน แม้จะเป็นเรื่องเดียวกับเราแต่เราก็อาจจะไม่เข้าใจ เพราะเพื่อนก็เขียนในสไตล์ของเขาเอง

TodaisNote_8
7. ระเบียบเรียบร้อยและสวยงาม
ไม่จำเป็นต้องเขียนแบบคัดลายมือ แต่ขอให้หน้ากระดาษดูสะอาด เรียบร้อย สวยงาม จะช่วยสร้างความรู้สึกอยากอ่านให้ตัวเราเอง และทำให้เรากลับมาอ่านได้อย่างมีความสุข เป็นการส่งเสริมความรู้ทางอ้อมด้วย


เพื่อนๆชาว WeGoInter.com ก็ลองเอาทั้ง 7 วิธีเหล่านี้ไปใช้ดู ใครได้ผลหรือไม่ได้ผลอย่างไรก็มาคอมเมนต์บอกกันได้ และหวังว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จในการเรียน เกรด 4 กันหมดเลยนะจ๊ะ ^^
ที่มา: marumura